วันจันทร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2560

ผักออร์แกนิคกับผักไฮโดรโปนิกส์ ต่างกันอย่างไร

                                ผักออร์แกนิคกับผักไฮโดรโปนิกส์ ต่างกันอย่างไร



                

                   ก่อนอื่นเราอยากบอกว่าเราศึกษาเปรียบเทียบผักออร์แกนิคกับผักไฮโดรโปนิกส์มาสักพักแล้ว เพราะเนื่องจากเริ่มจะรักตัวเองมากขึ้น (เมื่อก่อนกินแต่จังก์ฟู้ด) และเรารู้สึกว่าหลายๆคนยังเข้าใจผิดระหว่าง ผักออร์แกนิคกับผักไฮโดรฯ จากที่เห็นตามร้านที่เค้าขายผักไฮโดรฯ ส่วนใหญ่จะบอกว่าเป็นผักปลอดสารพิษ ตอนแรกเราก็เข้าใจแบบนั้น เพราะรู้สึกว่ามันดูสะอาด น่ากิน ผักปลอดสารพิษต้องดีต่อสุขภาพอยู่แล้ว แต่พอกลับมาลองศึกษาวิธีการปลูก แล้วเรารู้สึกว่า บางสิ่งบางอย่างเราก็เข้าใจผิดนะ เราก็เลยอยากแชร์ข้อมูลดีๆ ให้เพื่อนๆ จะได้ไม่เข้าใจผิดแบบเรา แต่ทั้งนี้เราไม่มีเจตนาจะว่าว่าผักไฮโดรฯไม่ดีนะ มันดีเหมือนกันแต่ดีคนล่ะแบบ ถ้าผิดพลาดยังไงก็ขออภัยด้วยนะค่ะ ^^
   
          ผักไฮโดรฯ คือการปลูกโดยใช้น้ำเป็นองค์ประกอบหลักและใช้สารอาหารสำหรับพืชที่สร้างขึ้นมาด้วยสารสกัดทางเคมี ซึ่งเราจะดูว่ามันสะอาด และน่ากินมากกกกกก ราคาก็สูงนิดนึง แต่พอรับได้ แต่หารู้ไม่ว่า สารสกัดทางเคมี ที่เค้าใช้เนี่ยแหละคือ ปุ๋ยเคมี และที่บอกว่า ผักไฮโดรฯ ไม่ใช้ ยาฆ่าแมลง เพราะปลูก และดูแลอย่างดี (แน่ซิคุณไม่ใช้ยาฆ่าแมลงเพราะคุณใช้สารสกัดทางเคมีทำให้เจริญเติบโตนิ ไอ้เราก็เข้าใจผิด กินมาก็นาน T^T) แต่ผักไฮโดรฯ มันปลูกง่าย สะดวก สำหรับคนไม่มีพื้นที่ดิน ขนาดอยู่ อพาร์ทเม้นท์ ยังปลูกได้เลย

           ส่วนผักออแกนิกส์ คือผลผลิตจะได้มาจากการเจริญเติบ โตตามธรรมชาติอย่างแท้จริง ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ดินที่ใช้เพาะปลูกต้องทำให้ปลอดสารพิษไม่น้อยกว่า 3 ปี ผักก็จะปลูกบนดินบ้านๆที่ปลอดสารเคมีใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกจากธรรมชาติในการปลูกเรียกได้ว่าเป็นการสร้างอาหารแบบ Back to Nature ธรรมชาติล้วนๆ 100% ส่วนประกอบทุกอย่างนั้นจึงบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีสารพิษมาช่วยก่อมะเร็งค่ะ เพราะอย่างนี้ผักออร์แกนิคถึงแพง แต่เราลองดูราคาระหว่างผักออร์แกนิคกับผักไฮโดรฯ แล้วนะ ราคาไม่ต่างกันมาก ออร์แกนิคจะสูงกว่านิดนึง แต่ถ้ามันดีจริงเราก็ยอมจ่ายนะ เพื่อสุขภาพที่ดี


           ทีนี้ก็เกิดคำถามว่าแล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าจะเป็น ออร์แกนิค 100% ไหม จะเชื่อได้ยังไง เพราะดูจากภายนอกเราดูไม่ออกหรอก มีพี่คนนึงบอกเราว่าให้ลองเปรียบเทียบกันว่า ถ้าซื้อผักไฮโดรฯมาแล้วลองตัดรากมันดู เค้าบอกว่าใส่ไว้ในตู้เย็น วันก้อเหี่ยวแล้ว แต่ผักออร์แกนิค จะอยู่ได้เป็นอาทิตย์เลยนะ (เพื่อนๆลองทำดูๆ ไม่ลองก็ไม่รู้)  แต่ก็มีวิธีดูภายนอกนะ เพราะถ้าเป็นผักออร์แกนิค 100% จะมีเครื่องหมายมาตรฐานเกษตรอินทรย์ มกท.หรือที่เรียกว่า "IFOAM"  กับอีกเครื่องหมายนึงคือ Organic thailand เป็นมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ …..

อุปกรณ์ในการปลูกผักออร์แกนิค

อุปกรณ์ในการปลูกผักออร์แกนิค


1. โฟมแผ่นรางกลาง ขนาด 100 x 120 x 15 ซม. หนัก 1.7 กก.
2. โฟมแผ่นรางปิดหัว (ไม่มีรูใส่สะดือ) ขนาด 100 x 63 x 15 ซม.
หนัก 0.9 กก.
3. โฟมแผ่นรางปิดท้าย (มีรูใส่สะดือ) ขนาด 100 x 63 x 15 ซม.
หนัก 0.9 กก.
4. โฟมถาดเพาะเมล็ด ขนาด 47 x 57 x 7 ซม. 
หนัก 0.3 กก.
5. โฟมแผ่นปลูก 50 ช่อง ขนาด 60 x 93 x 4 ซม. 
หนัก 0.5 กก.
6. โฟมแผ่นปลูก 16 ช่อง ขนาด 60X93X4 ซม. น้ำหนัก 0.6 กก.
7. - วัสดุปลูกขนาด 1 x 1 นิ้ว ชนิดปลอดสาร
      ขนาด 40 x 50 x 2.5 ซม. ( 1 แผ่น/ 320 ชิ้น)
      ขั้นต่ำ 5 แผ่น
   - ห่อละ 50 แผ่น ราคาห่อละ 1,950 บาท
     ขั้นต่ำ 5 แผ่น
   - วัสดุปลูกขนาด 1x1 นิ้ว ชนิดปลอดสาร
     ขนาด 23x33x3 ซม. (1แผ่น/96ชิ้น) ขั้นต่ำ 10 แผ่น
   - ห่อละ 100 แผ่น ราคาห่อละ 1,200 บาท
8. พลาสติกดำรองรับน้ำแปลงปลูก ความหนาไม่น้อยกว่า 120 ไมครอน เคลือบสารป้องกันรังสียูวี หนัก 3 กก. กว้าง 2.45 เมตร
-พลาสติกดำ 2.45 X100 ม. ขาย ม้วนละ 4,700 บาท
9. มุ้งกันแมลงขนาด 32 ตา ผสมป้องกันยุวี กว้าง 1.1 เมตร
10. พลาสติกใสคลุมหลังคาแปลงปลูก ความนาไม่น้อยกว่า 150 ไมครอน 
เคลื่อบสารป้องกันยูวี
- ขนาด กว้าง 3 เมตร ขายเมตรละ
- พลาสติกใส 3X100 ม. ขาย ม้วนละ 7,000 บาท
11. สารละลายธาตุอาหาร สูตร A,B แบบแห้ง 
แบ่งเป็นสำหรับผักไทยและผักสลัด
- สูตรผักไทย/ผักสลัด ขนาด 10 ลิตร
- สูตรผักไทย/ผักสลัด ขนาด 5 ลิตร
- สูตรผักไทย/ผักสลัด ขนาด 2.5 ลิตร
สูตรผักไทย ใช้กับ คะน้า,ผักบุ้ง,กวางตุ้ง และผักไทยทุกชนิด
สูตรผักสลัด ใช้กับ กรีนโอ๊ค,เรดโอ๊ค,บัตเตอร์เฮด และผักสลัดทุกชนิด
(ผักแต่ละชนิดใช้ปุ๋ยไม่เท่ากันขึ้นกับชนิดผัก)
12. ปุ๋ยนํ้า ผักไทย/ผักสลัดพร้อมแกลอน ขนาด 1 ลิตร
มี 2 สูตร
1. สูตรผักไทย
2. สูตรผักสลัด
13. เมล็ดพันธุ์ผักไทย ( 4 ชนิด)
- คะน้าเห็ดหอม
- คะน้าฮ่องกง
- กวางตุ้งฮ่องเต้
- ผักบุ้ง
- ตั้งโอ๋
14. เมล็ดพันธุ์ผักสลัด
- เมล็กผักสลัด แบบเคลือบ กรีนโอ็ค,เรดโอ็ค,
บัตเตอรเฮด,เรดคอรัล ,คอส (เมล็ดละ 1 บาท)

- เมล็ดผักสลัด แบบไม่เคลือบนําเข้าอัตรางอกเท่าแบบเคลือบ  กรีนโอ็ค,เรดโอ็ค,บัตเตอรเฮด,เรดคอรัล ,คอส (เมล็ดละ 0.50 บาท)
15. ถ้วยปลูก ผักสลัด สีดํา /สีขาว 
ขนาด สูง 5.5  ซม.  ปากกว้าง  5  ซม  ฐาน  3  ซม. 
ถ้วยปลูก สีดํา
ขนาด กว้าง 4.3 ซม สูง 3.8 ซม. ฐาน 3.3 ซม.
16. ถ้วยปลูกผักสลัด (สีเขียว)
17. - คลิ๊บล็อกชุดขาตั้ง ½" ( 4 หุน)
     - คลิ๊บล็อกชุดขาตั้ง ¾" (6 หุน)
18. ชุดวาล์วปรับระดับน้ำ (สะดือ)แปลงปลูกผัก
19. ถุงกรองเศษรากพืช โพลีเยสเตอร์
20. ปั้มหมุนเวียนธาตุอาหาร รุ่น AP 2500 จ่ายน้า 2000 ลิตร/ชม.

ผักออร์แกนิค

 ผักออร์แกนิค





ผักออร์แกนิค เป็นผักที่ได้มาจากการเจริญเติบโตตามธรรมชาติ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี หรือยาฆ่าแมลง ดินที่ปลูกต้องทำให้ปลอดสารพิษไม่น้อยกว่า เดือน และใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเท่านั้น เพราะเป็นการปลูกแบบธรรมชาติล้วนๆ จึงทำให้ผักออร์แกนิคกลายเป็นผักที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง เป็นผักอินทรีย์ขนานแท้ เพราะการปลูกที่เป็นธรรมชาติจึงต้องใช้ระยะเวลาในการปลูก อีกทั้งต้องมีการลงทุนที่สูง จึงทำให้ผักชนิดนี้มีราคาค่อนข้างแพง แต่ถ้าใครอยากจะลองปลูกผักออร์แกนิครับประทานเองก็ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร วันนี้เรามีวิธีปลูกมาฝากกัน





ผักออแกนิก (ผักออแกนิคผักออร์แกนิกผักออร์แกนิคหรือ ผักอินทรีย์ (Organicถ้าจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ แล้วมันก็คือ ผักประเภทที่มีความเป็นธรรมชาติสูงมาก ไม่มีการใช้สารเคมีใด ๆ เลย เป็นผักอินทรีย์จริง ๆ เหมือนเกิดจากธรรมชาติจริง ๆ เพียงแต่การเพาะปลูกจะต้องมีการดัดแปลงสภาพต่าง ๆ เพื่อเลียนแบบธรรมชาติ เช่น ปุ๋ยในดิน การบำรุงดิน อากาศ ความชื้น น้ำ ฯลฯ เพื่อให้พืชผักสามารถเจริญเติบโตได้ด้วยวิธีแบบธรรมชาติโดยอาหารจากธรรมชาติ
ผักออแกนิก นอกจากจะเป็นอะไรที่เป็นธรรมชาติมากแล้ว การเพาะปลูกยังมีการลงทุนที่สูง ใช้ระยะเวลาในการเพาะปลูกนาน ทำให้ผักชนิดนี้หากออกสู่ตลาดแล้วจะผักที่มีราคาแพง เพราะมีต้นทุนการผลิตที่สูง ไหนจะมีเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ต้องใช้เวลาปรับสภาพ เพื่อไม่ให้แมลงศัตรูพืชมาเบียดเบียน ซึ่งบางแห่งถึงขนาดกางมุ้งปลูกกันเลยทีเดียว แต่บางแห่งก็ปลูกกันในโรงเรือน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าจะปลูกด้วยวิธีไหน หรือทำให้ผักเจริญเติบโตด้วยวิธีใดก็ตาม ที่สำคัญที่สุดก็คือ ห้ามใช้สารเคมีใด ๆ ไม่ว่าสารนั้นจะไม่เป็นอันตรายต่อพืชและสัตว์ก็ตาม จะใช้ได้แต่เพียง อินทรีย์ที่มาจากธรรมชาติเท่านั้น จึงจะถือว่าเป็น ผักออแกนิก
นอกจากนี้ยังมีความเข้าใจผิด ๆ ว่า ผักออแกนิก ผักปลอดสารพิษ และผักไฮโดรโปนิกส์ คือผักชนิดเดียวกัน ซึ่งความจริงแล้วผักปลอดสารนั้นคือผักที่มีการใช้สารเคมีในระหว่างการเพาะปลูกจนกระทั่งใกล้เก็บเกี่ยว จะมีการเว้นการใช้สารเคมีในช่วงการเก็บเกี่ยว (มากน้อยแล้วแต่ผู้เพาะปลูกจะเป็นคนกำหนดเวลา) จึงทำให้มีชื่อเรียกใหม่ ๆ เกิดขึ้นว่าเป็น ผักปลอดสาร” สรุปก็คือ เป็นผักปลอดสารในช่วงตอนเก็บเกี่ยวผลผลิต แต่ไม่ได้ปลอดสารในระหว่างการเพาะปลูก
 ซึ่งจริง ๆ แล้วมันก็ควรจะเป็นผักทั่วไปที่เราซื้อมารับประทานกันตามท้องตลาดนี่แหละครับ ส่วนผักไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) นั้นคือผักไร้ดิน หรือการปลูกผักโดยใช้น้ำแทนดิน ซึ่งเป็นวิธีการปลูกผักที่ประยุกต์ใช้ในเมืองที่หาพื้นดินได้ยาก ผักประเภทนี้ยังมีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งสารเคมีอยู่ ไม่ว่าจะทางใบหรือทางน้ำ เพราะผักไร้ดินจะไม่มีดินที่เป็นตัวสะสมธาตุอาหาร แต่เปลี่ยนจากดินเป็นน้ำให้เป็นตัวสะสมธาตุอาหารแทน การใส่ปุ๋ยก็จะให้ทางน้ำ และปุ๋ยก็ยังคงต้องมีสารเคมี (จึงไม่ถือว่าเป็นผักออแกนิก) เพราะปุ๋ยอินทรีย์บางชนิดจะไม่สามารถผสมลงในน้ำได้ (หรือผสมได้แต่น้ำก็จะไม่ใสและมีกาก หรือขุ่น ทำให้ไหลได้ไม่ดี) และเพื่อให้เรารู้จักผักออแกนิกกันมากขึ้น 

ผักออแกนิคกับผักไฮโดรโปนิกส์

  ผักออแกนิคกับผักไฮโดรโปนิกส์ผักไฮโดรโปนิกส์ คือการปลูกโดยใช้น้ำเป็นองค์ประกอบหลักและใช้สารอาหารสำหรับพืชที่สร้างขึ้นมาด้วยสารสกัดทางเคมี ซึ่งเราจะดูว่ามันสะอาด และน่ากิน ราคาก็สูง แต่พอรับได้ แต่หารู้ไม่ว่า สารสกัดทางเคมี ที่ใช้คือ ปุ๋ยเคมี และที่บอกว่า ผักไฮโดรโปนิกส์ ไม่ใช้ ยาฆ่าแมลง เพราะปลูก และดูแลอย่างดี แต่ผักไฮโดรโปนิกส์ มันปลูกง่าย สะดวก สำหรับคนไม่มีพื้นที่ดิน ขนาดอยู่ ยังปลูกได้เลย




 ส่วนผักออแกนิกส์ คือผลผลิตจะได้มาจากการเจริญเติบ โตตามธรรมชาติอย่างแท้จริง ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ดินที่ใช้เพาะปลูกต้องทำให้ปลอดสารพิษไม่น้อยกว่า 3 ปี ผักก็จะปลูกบนดินบ้านๆที่ปลอดสารเคมีใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกจากธรรมชาติในการปลูกเรียกได้ว่าเป็นการสร้างอาหารแบบ Back to Nature ธรรมชาติล้วนๆ 100% ส่วนประกอบทุกอย่างนั้นจึงบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีสารพิษมาช่วยก่อมะเร็งค่ะ เพราะอย่างนี้ผักออแกนิคถึงแพง แต่เราลองดูราคาระหว่างผักออแกนิคกับผักไฮโดรโปนิกส์ แล้วนะ ราคาไม่ต่างกันมาก ออแกนิคจะสูงกว่านิดนึง 

7 คุณประโยชน์ของผักออร์แกนิค

 7 คุณประโยชน์ของผักออร์แกนิค




1 มีความปลอดภัยสูง ปลอดสารพิษเนื่องจากเป็นผักที่ปลูกโดยเลียนแบบการเจริญเติบโตแบบธรรมชาติ
2 เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง ห่างไกลจากโรคภัย เมื่อรับประทานอย่างต่อเนื่อง
3 ลดอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเนื่องจากในผักออร์แกนิคจะมีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าผักโดยทั่วไป
4 ส่งผลดีต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ช่วยลดอัตราการเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองพิการในเด็ก และยังช่วยเพิ่มน้ำนมได้อีกด้วย
5 ผักออร์แกนิคจะมีรสชาติที่อร่อยกว่าผักโดยทั่วไป
6 ทำให้เกษตรกรที่ปลูกมีสุขภาพแข็งแรงเนื่องจากไม่ต้องใช้สารเคมีในการปลูกนั่นเอง
7 ลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้ยาฆ่าแมลง

การทำปุ๋ยหมักในการปลูกผักออร์แกนิคได้ด้วนตนเอง

การทำปุ๋ยหมักในการปลูกผักออร์แกนิคได้ด้วนตนเอง








* เตรียมภาชนะขนาดความลึกประมาณ 3 ตารางฟุต
* ใส่ใบไม้แห้งแล้วโรยทับด้วยปุ๋ยคอก
* ใส่เศษอาหารหรือเศษผัก โดยมีความสูงไม่เกิน 30 เซนติเมตร
* โรยใบไม้แห้งให้มีความสูงประมาณ 10 – 15 เซนติเมตร แล้วนำเศษอาหารมาโรยทับบางๆ อีกชั้น
* หาวัสดุมากดทับอัดให้แน่นมากที่สุดหมักทิ้งไว้ 30 วัน
* ครบกำหนดให้ใช้พลั่วตักปุ๋ยจากด้านล่างมาใช้งานโดยกลบด้านบนลงไป

วิธีปลูกผักออร์แกนิคในขวด

วิธีปลูกผักออร์แกนิคในขวด







1. เตรียมอุปกรณ์ ขวดน้ำเก่า/ คัตเตอร์ / ฟองน้ำสำหรับปลูกผัก (ที่มีรอยตัดตรงกลางหรือสามารถหาซื้อมาตัดเองก็ได้) แนะนำให้ใช้ขวดลิตรจะดีกว่าเผื่อตอนผักโต และถ้าต้องการปลูกรอบสองสามารถล้างขวดแล้วปลูกใหม่ได้ง่ายกว่าขวดเล็ก

2. นำเมล็ดผักมาใส่ฟองน้ำประมาณ 3-5เมล็ดถ้าปลูกผักไทย แต่ถ้าปลูกผักพวกสลัดใช้แค่เมล็ดเดียว เมล็ดแช่ไว้น้ำ 2-3ชั่วโมงก็ได้ เพื่อให้การงอกดีขึ้น

3. เอาฟองน้ำที่ใส่เมล็ดแล้วมาใส่ขวดน้ำที่ตัดแล้วตามรูป ใส่ฟองน้ำให้ยื่นออกมาจากขวดนิดนึง เพื่อให้แตะกับน้ำที่เราจะใส่ในขวด

4. รอโตประมาณ 3 วัน จึงใส่ปุ๋ย AB (ค่าECที่ผักไทยต้องการประมาณ 2.0) สำหรับท่านที่ไม่ทราบว่าปุ๋ยAB คืออะไร ปุ๋ยABคือปุ๋ยที่ไว้ใส่ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ปุ๋ยจะแยกเป็น2ตัว 1เรียกว่าปุ๋ยA และอีกอันเรียกว่าB อัตราส่วนผสมเท่ากับ ปุ๋ย5cc:น้ำ1L เติมปุ๋ยAB กับน้ำตามสัดส่วนทุกอาทิตย์ เวลาน้ำน้อยลงนะ

5.  คอยดูเติมน้ำสารละลาย A และ B ที่ผสมตามแต่ละยี่ห้อกำหนด (เหมือนกันรดน้ำต้นไม้) แต่การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบนี้เราต้องคอยดูน้ำอย่าให้ขาด ให้น้ำพอดีกับบริเวณรากของต้นผัก

ผักออร์แกนิคกับผักไฮโดรโปนิกส์ ต่างกันอย่างไร

 ผักออร์แกนิคกับผักไฮโดรโปนิกส์ ต่างกันอย่างไร



                

                   ก่อนอื่นเราอยากบอกว่าเราศึกษาเปรียบเทียบผักออร์แกนิคกับผักไฮโดรโปนิกส์มาสักพักแล้ว เพราะเนื่องจากเริ่มจะรักตัวเองมากขึ้น (เมื่อก่อนกินแต่จังก์ฟู้ด) และเรารู้สึกว่าหลายๆคนยังเข้าใจผิดระหว่าง ผักออร์แกนิคกับผักไฮโดรฯ จากที่เห็นตามร้านที่เค้าขายผักไฮโดรฯ ส่วนใหญ่จะบอกว่าเป็นผักปลอดสารพิษ ตอนแรกเราก็เข้าใจแบบนั้น เพราะรู้สึกว่ามันดูสะอาด น่ากิน ผักปลอดสารพิษต้องดีต่อสุขภาพอยู่แล้ว แต่พอกลับมาลองศึกษาวิธีการปลูก แล้วเรารู้สึกว่า บางสิ่งบางอย่างเราก็เข้าใจผิดนะ เราก็เลยอยากแชร์ข้อมูลดีๆ ให้เพื่อนๆ จะได้ไม่เข้าใจผิดแบบเรา แต่ทั้งนี้เราไม่มีเจตนาจะว่าว่าผักไฮโดรฯไม่ดีนะ มันดีเหมือนกันแต่ดีคนล่ะแบบ ถ้าผิดพลาดยังไงก็ขออภัยด้วยนะค่ะ ^^
   
          ผักไฮโดรฯ คือการปลูกโดยใช้น้ำเป็นองค์ประกอบหลักและใช้สารอาหารสำหรับพืชที่สร้างขึ้นมาด้วยสารสกัดทางเคมี ซึ่งเราจะดูว่ามันสะอาด และน่ากินมากกกกกก ราคาก็สูงนิดนึง แต่พอรับได้ แต่หารู้ไม่ว่า สารสกัดทางเคมี ที่เค้าใช้เนี่ยแหละคือ ปุ๋ยเคมี และที่บอกว่า ผักไฮโดรฯ ไม่ใช้ ยาฆ่าแมลง เพราะปลูก และดูแลอย่างดี (แน่ซิคุณไม่ใช้ยาฆ่าแมลงเพราะคุณใช้สารสกัดทางเคมีทำให้เจริญเติบโตนิ ไอ้เราก็เข้าใจผิด กินมาก็นาน T^T) แต่ผักไฮโดรฯ มันปลูกง่าย สะดวก สำหรับคนไม่มีพื้นที่ดิน ขนาดอยู่ อพาร์ทเม้นท์ ยังปลูกได้เลย

           ส่วนผักออแกนิกส์ คือผลผลิตจะได้มาจากการเจริญเติบ โตตามธรรมชาติอย่างแท้จริง ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ดินที่ใช้เพาะปลูกต้องทำให้ปลอดสารพิษไม่น้อยกว่า 3 ปี ผักก็จะปลูกบนดินบ้านๆที่ปลอดสารเคมีใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกจากธรรมชาติในการปลูกเรียกได้ว่าเป็นการสร้างอาหารแบบ Back to Nature ธรรมชาติล้วนๆ 100% ส่วนประกอบทุกอย่างนั้นจึงบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีสารพิษมาช่วยก่อมะเร็งค่ะ เพราะอย่างนี้ผักออร์แกนิคถึงแพง แต่เราลองดูราคาระหว่างผักออร์แกนิคกับผักไฮโดรฯ แล้วนะ ราคาไม่ต่างกันมาก ออร์แกนิคจะสูงกว่านิดนึง แต่ถ้ามันดีจริงเราก็ยอมจ่ายนะ เพื่อสุขภาพที่ดี


           ทีนี้ก็เกิดคำถามว่าแล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าจะเป็น ออร์แกนิค 100% ไหม จะเชื่อได้ยังไง เพราะดูจากภายนอกเราดูไม่ออกหรอก มีพี่คนนึงบอกเราว่าให้ลองเปรียบเทียบกันว่า ถ้าซื้อผักไฮโดรฯมาแล้วลองตัดรากมันดู เค้าบอกว่าใส่ไว้ในตู้เย็น วันก้อเหี่ยวแล้ว แต่ผักออร์แกนิค จะอยู่ได้เป็นอาทิตย์เลยนะ (เพื่อนๆลองทำดูๆ ไม่ลองก็ไม่รู้)  แต่ก็มีวิธีดูภายนอกนะ เพราะถ้าเป็นผักออร์แกนิค 100% จะมีเครื่องหมายมาตรฐานเกษตรอินทรย์ มกท.หรือที่เรียกว่า "IFOAM"  กับอีกเครื่องหมายนึงคือ Organic thailand เป็นมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ 

ประโยชน์ของผักออแกนิก

   ประโยชน์ของผักออแกนิก





1.     ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี ไม่มีสารพิษตกค้าง และมีความปลอดภัยสูงต่อผู้บริโภค เนื่องจากผักออแกนิกเป็นผักแบบธรรมชาติล้วน ๆ 100% ส่วนประกอบทุกอย่างจึงมีความบริสุทธิ์ ไม่มีสารพิษต่าง ๆ ที่เป็นสารก่อมะเร็ง
2.     การบริโภคผักออแกนิก ในปริมาณที่เหมาะสมเป็นประจำจะช่วยทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดีขึ้น ทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยได้ง่าย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3.     ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้ เพราะผักออแกนิกจะมีสารต้านอนุมูลอิสระที่มากกว่าพืชผักทั่วไป ซึ่งเป็นที่ยอมรับแล้วว่ามีส่วนการใช้ต่อต้านมะเร็ง
4.     ช่วยลดอัตราเสี่ยงเด็กสมองพิการ เด็กซนผิดปกติ และโรคออทิสติก เพราะสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์นั้นมีมากกว่า 100 ชนิด ที่เป็นสาเหตุของโรคดังกล่าว และการรับประทานผักออแกนิกยังเป็นผลดีแก่กับตัวคุณแม่เอง และยังช่วยทำให้น้ำนมของคุณแม่มีปริมาณของกรดไขมันที่มีคุณค่าทางสารอาหารสูงกว่าปกติ
5.     ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่ายาฆ่าแมลงที่ตกค้างอยู่ในผักทั่วไป จะมีผลโดยตรงกับฮอร์โมนเพศและทำให้เซ็กส์เสื่อมได้ หากคุณไม่อยากเสี่ยงก็ควรหยุดรับประทานผักที่ใช้สารเคมีอีกเลย
6.     เมื่อเปรียบเทียบกับผักทั่วไปแล้ว ผักออแกนิกจะมีวิตามิน เกลือแร่ เอนไซม์ และสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระที่มีคุณค่ามากกว่าผักทั่วไป (แต่บางข้อมูลระบุว่าปริมาณของวิตามินของพืชผัก ระหว่างการปลูกแบบออแกนิกและการปลูกโดยทั่วไปนั้นไม่มีความแตกต่างกัน (มีเพียงฟอสฟอรัสเท่านั้นที่ผักออแกนิกมีมากกว่าผักทั่วไป) แต่มันก็ยังดีกว่าใช่ไหมละครับที่เราจะไม่ได้รับสารพิษเข้าไปในร่างกายทุกวันจากการรับประทานผักทั่วไป เพราะ ใน ของผักที่ปลูกตามปกตินั้นตรวจพบยาฆ่าแมลง)
7.     รสชาติของผักออแกนิกจะดีกว่าผักที่ปลูกกันทั่วไป ถ้านึกไม่ออกให้ลองนึกถึงผลไม้ในฤดูกาลกับผลไม้นอกฤดูกาลที่ต้องใช้สารเคมี ว่าผลไม้แบบใดมีรสชาติที่ดีกว่า
8.     นอกจากจะเป็นผักที่ไม่มีสารพิษแล้ว กระบวนการเพาะปลูกต่าง ๆ ยังเป็นการช่วยลดมลพิษไปได้อีกด้วย เพราะการปลูกผักทั่วไปจะทำให้สารเคมีที่ใช้ป้องกันและกำจัดศัตรูพืชปนเปื้อนในดิน ในน้ำ และในอากาศ
9.     ช่วยฟื้นฟูสภาพดิน เนื่องจากการเกษตรแบบใช้สารเคมีนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าจะทำให้ดินเสื่อมคุณภาพและไม่มีคุณสมบัติที่ดีในการเพาะปลูก ทำให้ปลูกอะไรก็ไม่ได้ผลผลิตที่ดีตามต้องการ อีกทั้งผักที่ปลูกก็แทบจะไม่ได้คุณค่าทางสารอาหารที่ครบถ้วนอย่างที่ควรจะเป็น
10.  ช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีววิทยา เพราะการไม่ใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลงจะช่วยทำให้มีชีวิตในท้องถิ่นมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ และช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีววิทยาไปเรื่อย ๆ
11.  ช่วยทำให้เกษตรกรผู้เพาะปลูกมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น เนื่องจากไม่มีการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย ทำให้เกษตรกรปลอดภัยจากสารเคมีเหล่านี้ได้
12.  ช่วยลดต้นทุนการผลิตในด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยและสารเคมีต่าง ๆ และช่วยลดปริมาณการนำเข้าของสารเคมีจากต่างประทศ (ในแต่ละปีประเทศไทยมีการสั่งซื้อจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก)
13.  ผักออแกนิกทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการจำหน่ายผักเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผลผลิตที่ได้เป็นที่ต้องการของตลาด เพราะเป็นผักที่มีคุณภาพดีและปลอดภัยจากสารพิษ จึงทำให้จำหน่ายได้ในราคาที่สูงขึ้น

5 ขั้นตอนวิธีปลูกผักออร์แกนิค

ขั้นตอนวิธีปลูกผักออร์แกนิค



1 ขั้นตอนเตรียมดิน การเตรียมดินที่ดีจะช่วยทำให้ผลผลิตดีตามไปด้วย โดยวิธีการให้เตรียมหน้าดินประมาณ 2 – 4 นิ้ว และใช้ใบไม้ ฟางคลุมหน้าดินและรดน้ำ และใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในการบำรุงดิน และคลุกเคล้าให้ทั่ว รดน้ำให้ชุ่ม
2 นำกล้าผัก หรือเมล็ดพันธุ์ผักที่เตรียมไว้ลงดิน โดยวิธีการเลือกเมล็ดพันธุ์หรือต้นกล้า ต้องเลือกที่มีความแข็งแรง ไม่หมดอายุ เทคนิคของการใช้เมล็ดพันธุ์ในการปลูกคือ ก่อนการเพาะควรตรวจสอบเมล็ดพันธุ์ก่อน ด้วยการนำเมล็ดพันธุ์ไปโรยใส่ทิชชู่เปียก หลังจากนั้นให้นำทิชชู่เปียกมาโรยทับอีกที ทิ้งไว้ 3 – 4 วันถ้าเมล็ดงอกออกมาแปลว่ามีความสมบูรณ์ดี เมล็ดไม่ฝ่อ ใช้ปลูกได้
3 การดูแล การดูแลผักเพื่อให้เจริญเติบโตเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญ ควรให้ความสำคัญกับการรดน้ำให้เหมาะสม สำหรับผักแต่ละชนิด รวมทั้งดูแลเรื่องแสงแดดและแมลงที่จะมารบกวน การรดน้ำควรรดที่หน้าดินดีกว่าการรดที่ใบ อีกทั้งควรหมั่นถอนวัชพืชด้วยมือ และหมั่นรดน้ำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ การไล่แมลงอาจจะเลือกใช้วิธีธรรมชาติ เช่น การปล่อยกบ คางคก จิ่งจง เพื่อมาคอยจับแมลง
4 การเก็บเกี่ยว ควรหมั่นตรวจสอบระยะเวลาการเก็บเกี่ยวผักแต่ละชนิดให้ดี อย่าปล่อยให้ร่วงคาต้น และควรเก็บเป็นช่วงเวลา เช่น โหระพาให้เก็บช่วงบ่าย เพราะช่วงนั้นใบจะสดน่ากิน เป็นต้น


5 การโละสวน การโละสวนคือการฟื้นฟูสภาพดินเพื่อปลูกพืชครั้งต่อไปเมื่อหมดฤดูกาลเก็บเกี่ยว หรือต้นไม้หมดอายุแห้งเหี่ยว ได้แก่ การถอนต้นพืชออกให้หมด แล้วฝังกลบ แล้วเข้าสู่ขั้นตอนการเตรียมดินกันอีกครั้ง